กรณีแรก ๆ ที่มีการรายงาน ของ ประสาทหลอนเสียงดนตรี

ตามหนังสือ Hallucinations (ประสาทหลอน) ของ น.พ. โอลิเวอร์ แซ็กซ์ รายงานการแพทย์เกี่ยวกับอาการนี้พิมพ์ครั้งแรกโดยจิตแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อว่า Jules Baillarger ในปี ค.ศ. 1846[2] แต่ว่า บทความวิทยาศาสตร์ที่พรรณนาถึงโรคนี้มีครั้งแรกในต้นคริสต์ทศวรรษ 1900ส่วนในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยเบอร์รีโอส์ได้รายงานถึงเคสต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1990 และ 1991 และนักวิจัยเคชะวานและคณะในปี ค.ศ. 1992

เบอร์รีโอส์ได้สรุปว่า การมีหูหนวก โรคหู โรคสมอง วัยสูงอายุ และการใช้ยาเสพติดล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเกิดอาการนี้และหลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์เคสถึง 46 กรณี เบอร์รีโอส์พบว่ามีผู้หญิงเป็นถึง 80% และมีอายุโดยเฉลี่ยที่ 60 ปี[3]งานวิจัยได้สรุปว่า อาการนี้มีโอกาสที่จะมีในหญิงสูงอายุผู้มีหูหนวกหรือมีโรคสมองสูงกว่าผู้ที่ไม่มีอาการทางจิตเวช[4][5]

นักวิจัยเคชะวานและเบอร์รีโอส์เป็นผู้พิมพ์งานพวกแรกที่ระบุประเภทของอาการนี้ประเภทย่อยจัดเป็น การสูญเสียการได้ยิน เนื้องอกในสมอง โรคชัก โรคหลอดเลือดสมอง และโรคทางจิตเวชอื่น ๆแม้ว่าจะไม่มีการวิเคราะห์โดยสถิติ ผู้พิมพ์งานวิจัยกล่าวว่า สภาวะหูหนวกมีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุดกับอาการนี้และผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจจะบ่งถึงความเป็นโรคทางพันธุกรรม[1][4][5]

ใกล้เคียง

ประสาทสัมผัส ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ ประสาทหลอนเสียงดนตรี ประสาทสมอง ประสาทวิทยาศาสตร์ ประสาท ตันประเสริฐ ประสาท สืบค้า ประสาน ศิลป์จารุ ประสาทกายวิภาคศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประสาทหลอนเสียงดนตรี http://www.biomedsearch.com/attachments/00/23/96/4... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1027453 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1557851 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10932294 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15546592 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16889667 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18327022 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20629118 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21625772 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2180526